พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยสังเขป
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 LoveYouFlower ขอนำพระราชประวัติของพระองค์ท่านมาบอกเล่าให้ได้รู้กัน โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
ทรงพระราชสมภพ
พระสูติบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อพระชันษา ๕ พรรษาทรงชุดละครไทยซึ่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานให้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณโรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเซตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่นในตอนนั้น
พระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชคือ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” และมีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า “เบบี้ สงขลา” พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงมีสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”
พระบรมฉายาลักษณ์นี้ถ่ายที่ร้านเดอ ยอง พ.ศ. 2471
ไปรษณีย์ลายพระราชหัตถ์เมื่อครั้งทรงพระเยาว์
ชั้นเด็กเล็ก ในโรงเรียนอนุบาลของมิสซิสเดวิส พ.ศ. 2474
การศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อณ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จ.กรุงเทพมหานคร เมื่อพระชนมายุ 5 พรรษา จากนั้นจึงเสด็จไปศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) เนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเห็นว่าจะเป็นการดีกว่า หากให้สามพระองค์ได้รับการศึกษาที่นั่น โดยในปี พ.ศ. 2478 พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติและทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากโรงเรียนดังกล่าว พระองค์ทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน และทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมือง โลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราชพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ในปี พ.ศ. 2488 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล จากนั้นได้ทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เนื่องจากต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในวันเดียวกันนั้นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยน ไปศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์แทน ซึ่งทั้งสองสาขานั้นมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเครื่องชุดลูกเสือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าโรงเรียนเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนอนุบาลของมิสซิสเดวีส
ทรงครองราชย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ 2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เมื่อพระชนมพรรษาได้ 18 พรรษา แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่ง จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องและมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและ ราชสังคหวัตถุทรงเจริญ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน ทำให้พระองค์เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ ทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้นพปฎลเศวตฉัตรในระหว่างทำพิธีพระบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับบนแท่นพระที่นั่งในกระบวนแห่ระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงประทับแรม ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ในปีพ.ศ. 2491 พระองค์ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ในวันนั้นเอง พระองค์ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาในหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง พระองค์ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร โดยได้ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ และโปรดฯ ให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพของทั้งสองพระองค์จึงแน่นแฟ้นขึ้น ต่อมาได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้าเป็นผู้พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ พระองค์ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติในวันที่ 28 เมษายน 2493
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อวันที่ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 กรกฏคม 2515
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฏคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชาพิธีราชาภิเษกสมรส ณ ตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493
ทะเบียนสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระรูปร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพระราชโอรส และพระราชธิดา
พระบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับบนแท่นพระที่นั่งในกระบวนแห่ระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง โดยพระองค์ได้เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้เอง พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร ในระหว่างพระราชพิธีราชาภิเษก
พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
ทรงพระผนวช
ทรงพระผนวช เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 และทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชตลอดในช่วงที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระศาสนกิจเป็นเวลา 15 วัน
สมเด็จพระราชชนนี ทรงจรดพระกรรไกร หลังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทรงพระบรรพชา ประทับที่พระแท่นท้ายอาสนสงฆ์สมเด็จพระราชชนนี ถวายบาตรสำหรับพระราชพิธีอุปสมบทกรรม
พระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ทูลซักถามอันตรายิกธรรม
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแซ็กโซโฟน
นอกจากพระอัจฉริยภาพด้านวิชาการแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งเพลงทั้งหมดนั้นได้มีนักดนตรีทั้งไทย และต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลียได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อีกด้วย นอกจากพระปรีชาสามารถด้านต้นดังที่ได้กล่าวไปแล้ว พระองค์ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์ แปลเรื่อง ติโต นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดกพระมหาชนก ที่ทรงได้สอดแทรก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหอดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรชาวไทย ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องให้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” ของชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับภาพวาดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนะเลิศการแข่งขันเรือใบ ในงานซีเกมครั้งที่ 4 ณ สนามศุภชลาศัยสถานกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2510
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง
ขอบคุณข้อมูลจาก: เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก